วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ขั้นตอนการเซ็ต BIOS

0 ความคิดเห็น
BIOS (Basic Input/Output System) คือ Chip ROM (EPROM : Erasable Programmable Read-Only Memory) Bios เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมฮาร์ดแวร์ในการ Boot คอมพิวเตอร์ โดยทุกครั้งเมื่อเราเปลี่ยนเครื่องอ่านข้อมูล ไม่ว่า Floppy Disk Drive , Hard Disk Drive และ Cd-Rom Drive โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ เมื่อต่อเพิ่มหรือถอดออก จะต้องบอกให้ BIOS รับรู้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการ Boot เครื่อง เพื่อเข้าสู่โปรแกรม Windows หรือ OS ต่อไป




BIOS (Basic Input/Output System), CMOS (Complementary Metal Oxide Semiconductor)
ขั้นตอนการทำงานของ BIOS
1.
เมื่อเปิดเครื่อง BIOS จะตรวจสอบอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นต่อการใช้งาน เช่น คีย์บอร์ด , ดิสก์ไดรฟ์, จอภาพ, หน่วยความจำ ฯลฯ หากมีอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งทำงานไม่ถูกต้อง จะแจ้งข้อผิดพลาดให้ทราบทั้งในลักษณะข้อความ (หากจอภาพทำงานได้) และเสียง beep หากจอภาพทำงานไม่ได้
2.
โหลดค่ากำหนดเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นมาใช้งาน โดยค่าต่างๆ เหล่านี้จะถูกเก็บไว้ใน CMOS ซึ่งผู้ใ้ช้สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยผ่าน SETUP
3.
โหลดระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งไว้ในดิสก์ขึ้นมาทำงาน
4.
เมื่อระบบปฏิบัติการเิริ่มทำงาน นั่นคือคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะอยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับการใช้งานแล้ว ส่วน BIOS จะทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ ต่อระบบปฏิบัติการอยู่เบื้องหลัง เช่น การอ่าน-เขียนข้อมูลจากดิสก์, เปิดจอภาพเมื่อผู้ใช้ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานๆ ฯลฯ
5.
เมื่อต้องการปิดเครื่อง BIOS จะปิดการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมดรวมถึงตัดกระแสไฟที่จ่ายให้ power supply ด้วย ค่ากำหนดต่างๆ ที่เก็บไว้ใน CMOS จะไม่หายไป เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ การทำงานจะวนรอบกลับไปยังขั้นตอนที่ 1 ทันที ดังจะเห็นได้ว่าการทำงานของ BIOS มีผลต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา หาก BIOS ได้รับการปรับตั้งไม่ถูกต้อง หรือปรับตั้งไว้ไม่ดี จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นทำงานได้ไม่ถูกต้อง, ไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือแม้แต่ใช้งานไม่ได้เลยก็เป็นได้
POST ขั้นตอนสำคัญของการเริ่มต้นระบบ

เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS จะเข้าสู่ขั้นตอนที่เรียกว่า POST (Power-On Self Test) ซึ่งเป็นการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเอง สาเหตุที่ต้องตรวจสอบก่อนก็เพราะคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีอุปกรณ์ไม่เหมือนกัน อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์เหล่านี้ได้โดยอิสระอีกด้วย ดังนั้นย่อมเป็นการดีที่จะมาตรวจสอบกันก่อนเริ่มต้นทำงาน ในกรณีที่เจอข้อผิดพลาดก็ยังสามารถรายงานให้ผู้ใช้ทราบ และแก้ไขได้อย่างถูกต้อง

4 ขั้นตอนกcารทำงานของ POST

ใน BIOS ใดๆ แม้จะต่างยี่ห้อ ต่างบริษัทกัน โดยส่วนใหญ่จะมีขั้นตอน POST ที่คล้ายๆ กัน 4 ขั้นตอน ดังนี้

1.
แสดงข้อความเริ่มต้นของการ์ดแสดงผล ซึ่งปกติจะขึ้นอยู่กับชนิดของการ์ดแสดงผลที่ติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์นั้นๆ โดยอาจแสดงชื่อบริษัท-โลโก้ของผู้ผลิต, ชื่อรุ่น, ขนาดของหน่วยความจำ ฯลฯ หรือในบางรุ่นอาจไม่แสดงข้อความใดๆ ในขั้นตอนนี้เลยก็ได้
2.
แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ BIOS รวมถึงหมายเลขอ้างอิงสำหรับผู้ผลิตเมนบอร์ดและข้อความอื่นๆ จากภาพที่ 2-2 เป็น BIOS ของ Award บนเมนบอร์ดซึ่งใช้ชิปเซ็ต Intel 430HX
3.
ตรวจสอบและนับจำนวนหน่วยความจำ รวมทั้งเริ่มการทำงานของอุปกรณ์ประเภทดิสก์ไดรฟ์
4.
เมื่อสิ้นสุดการทำงานของ POST แล้ว บนหน้าจอจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์พื้นฐานทั้งหมด จากนั้นจึงโหลดระบบปฏิบัติการจากดิสก์ที่กำหนด (ผ่านทาง SETUP ) มาทำงานต่อไป
ข้อแนะนำ

Bios ที่ใช้กันแพร่หลายมี 2 ค่าย คือ Award และ Ami แต่มีหลายเวอร์ชั่น การ Set Bios แต่ละรุ่นจึงต้องอาศัยความเข้าใจมากกว่าการจดจำ

ตัวอย่างหน้าจอ Bios Setup ของ Award และ Ami


การเข้าโปรแกรม Bios

เมื่อเปิดเครื่องแล้ว ให้กดปุ่ม Delete ไปเรื่อยๆ จนเข้าโปรแกรม Bios โดยบางรุ่นจะใช้ Ctrl+Esc จะขึ้นหน้าจอ

Standard CMos Setup
Date กำหนดวันที่
Time กำหนดเวลา
Primary Master กำหนดฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ Boot Windows และลงโปรแกรม
Primary Slave กำหนดฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เก็บข้อมูล
Secondary Master กำหนดฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เก็บข้อมูล
Secondary Slave กำหนดฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เก็บข้อมูล
Drive A กำหนด Floppy Disk

Bios Feathers Setup

Boot Sequence กำหนดลำดับการ Boot เครื่อง ควรตั้งไว้ A: , C: เพื่อสามารถใช้การ Boot จากแผ่น Startup Disk ได้

IDE HDD Auto Detection

สำหรับค้นหาฮาร์ดดิสก์แบบอัตโนมัติ โดยจะค้นหา Primary Master , Primary Slave , Secondary Master , Secondary Slave ตามลำดับ โดยให้เราตอบ Y ในแต่ละขั้นตอนที่ต้องการ ถ้าในขั้นตอนนี้ไม่สามารถค้นหาฮาร์ดดิสก์ที่เราติดตั้งไว้ได้ ต้องตรวจสอบการต่อฮาร์ดดิสก์ให้ถูกต้องอีกครั้ง

Save & Setting Setup

แน่่นอนเมื่อตั้งค่าต่างๆ ตามที่เราต้องการแล้ว ก็ต้อง Save ไว้ ให้ตอบ Y แล้ว Enter
Boot ใช้งานตามต้องการได้ต่อไป






หน้าที่ของ BIOS

0 ความคิดเห็น








Bios คืออะไร
มีมือใหม่หลายคนสอบถามมาว่า Bios (ไบออส) คืออะไร และมีผลอะไรกับคอมพิวเตอร์ ไม่มีได้หรือเปล่า อืม และคำถามต่างๆ นานา ที่ถามมาจากมือใหม่ ผมก็ตอบไปด้วยความยินดีทุกๆ ท่าน และดีใจที่ทุกๆ ท่านเห็นเราเหมือนกับเพื่อนคนหนึ่งที่คอยช่วยเหลือยามเรามีปัญหา (เรื่องคอมพิวเตอร์) เป็นอันว่าวันนี้ เราจะมาว่ากันที่ เรื่องของ Bios (ไบออส) คืออะไร Bios (ไบออส) นั้นหรือก็คือ ระบบพื้นฐานที่ใช้ในการควบคุมระบบ input output ของคอมพิวเตอร์ หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Basic Input Output System เมื่อนำตัวอักษรข้างหน้ามาวางต่อกันแล้ว ก็จะได้คำว่า BIOS นั้นเองครับ
Bios (ไบออส) นั้นมีความสำคัญกับระบบคอมพิวเตอร์อย่างมาก เรียกได้ว่าไม่มีไม่ได้ เพราะเมื่อเรากดปุ่มเปิดเครื่อง ระบบก็จะเริ่มต้นที่ Bios (ไบออส) นี้แหละครับ โดยโครงสร้างหลักๆ ของเจ้า BIOS (ไบออส) นั้น
มีส่วนประกอบหลักๆ อยู่สองอย่างคือ…
ตัวโปรแกรมของไบออส จะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำแบบ ROM เพราะจำได้นานไม่มีลืมเหมือนกับ RAM ทำให้เราสามารถเรียกใช้เจ้า BIOS ได้ทันทีเมื่อเปิดเครื่อง แต่เราไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปใน ROM ได้
ส่วนตัวข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่ CMOS RAM เป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่สามารถเชขียนไฟล์ทับได้ คล้ายกับ RAM แต่ต้องใช้ไฟเลี้ยง ถ้าไม่มีไฟ ระบบจะลืมช้อมูลทันที โดยไฟที่ว่านี้มาจากก้อนแบตเตอรี่เล็กติดอยู่บนเมนบอร์ด ถ้าแบตเตอรี่นี้หมด เครื่องก็จะมีปัญหา
ในโปรแกรม BIOS มีหน้าจอให้เรากำหนดค่าต่างๆ เพื่อใช้กำหนดค่าเริ่มต้นของคอมพิวเตอร์เรา เช่นให้บูตระบบจากซีดีรอมก่อนหรือจากฮาร์ดดิสก่อน กำหนดวันเวลา เป็นต้น นอกจากหน้าที่แม่บ้านแล้ว BIOS ยังมีหน้าที่อื่นๆ ที่มีความสำคัญอีกเช่น กำหนดการทำงานของซีพียู เป็นตัวเชื่อมและสนับสนุนการทำงานพื้นฐานของซอฟท์แวร์ที่เราติดตั้ง
สิ่งหนึ่งที่มือใหม่ควรจะทราบนั้นก็คือ ถ้าเวลาของเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มเพี้ยนแล้ว แสดงว่าแบตเตอรี่ที่เป็นอาหารของไบออสเริ่มหมดแล้ว เราสามารถหาซื้อแบตเตอรี่ได้ที่ร้านนาฬิกาทั่วๆ ไปได้ครับ